สคู๊ปมีทวี พาเที่ยว ในตอนนี้จะพาท่านไปสักการะศาลเจ้ากวนอู ณ
ศาลเจ้ากวนหลิน ซึ่งนับเป็น 1 ใน 3 ศาลเจ้ากวนอู
อันโด่งดังที่คนจีนเคารพศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้ ณ เมืองลั่วหยางกันคับ
|
บรรยากาศหน้าศาลเจ้ากวนหลิน |
"ศาลเจ้ากวนหลิน" ห่างออกไปทางทิศใต้ของเมืองลั่วหยางประมาณ 7 กิโลเมตร นับเป็นศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองลั่วหยาง ศาลเจ้ากวนหลินถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสามก๊กซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี
|
แผนผังของศาลเจ้ากวนหลิน |
|
ประตูทางเข้าศาลเจ้ากวนหลิน |
ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่ต่างพากันมากราบไหว้องค์เทพเจ้ากวนอูในฐานะที่เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์
อีกทั้งนับถือองค์ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภโดยร้านค้าหรือห้างร้านต่างๆในเมืองจีนต่างนิยมบูชาองค์เทพกวนอูมาตั้งบูชาไว้ในร้านของตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและมีโชคลาภ
|
ซุ้มประตูด้านหน้า |
|
วิหารแรก |
จากตำนานเรื่องสามก๊ก เมื่อแม่ทัพกวนอูแพ้สงครามต่อก๊กของซุนกวน ท่านไม่สวามิภักดิ์ต่อก็กซุนกวนจึงถูกประหารโดยการตัดศีรษะ หลังจากนั้นซุนกวนได้สั่งทหารให้นำศีรษะของกวนอูส่งมามอบให้กับโจโฉเพื่อเป็นการป้ายความผิดและยั่วยุให้โจโฉกับเล่าปี่เกลียดแค้นและผิดใจกัน
|
องค์เทพเจ้ากวนอู |
เมื่อครั้งที่ท่านกวนอูยังมีชีวิตอยู่ โจโฉเองก็เคารพและชื่นชอบฝีมือของแม่ทัพกวนอูเป็นอย่างมาก และโจโฉเองก็พยามเกลี้ยกล่อมดึงท่านกวนอูให้มาเป็นพวกของตนในสมัยที่ถูกจับแม่ทัพกวนอูถูกจับเป็นเชลยต่อก๊กของโจโฉ
|
รูปหมู่หน้าวิหารใหญ่ |
|
ผู้คนมากราบไหว้มากมาย |
ซึ่งไม่ว่าโจโฉจะมอบทรัพย์สมบัติมีค่ามากมายก่ายกองให้กับกวนอูแต่สิ่งของที่โจโฉมอบให้นั้นก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจให้แม่ทัพกวนอูมาเป็นพวกของตนได้
|
อาหารและผลไม้ที่ชาวจีนนำมาไหว้ |
|
ซุ้มขายธูปและผ้าแดงเขียนขอพร |
ตามตำนานได้กล่าวถึงอภินิหารของแม่ทัพกวนอูไว้ด้วยว่า หลังจากที่โจโฉได้เปิดกล่องที่บรรจุศีรษะของกวนอูที่ซุนกวนส่งมาก็ได้อุทานว่า “ท่านกวนอู
ตอนท่านยังมีชีวิตข้าได้เกลี่ยกล่อมท่านสักเพียงไรท่านก็ไม่ยอมมาทำงานให้กับข้า แล้วเหตุใดตอนท่านเสียชีวิตแล้วท่านจึงกลับมาอยู่กับข้าได้เล่า"...!!!
|
มีซุ้มขายธูปเทียนให้เลือกซื้อบูชา |
|
วิหารที่สอง |
ทันใดนั้นศีรษะของแม่ทัพกวนอูที่หลับตาอยู่ก็ได้ลืมตาขึ้นและจ้องหน้าโจโฉด้วยสีหน้าที่โมโห เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้โจโฉตกใจกลัวเป็นอย่างมากและเชื่อว่าแม่ทัพกวนอูนั้นได้กลายเป็นเทพเจ้า จากนั้นโจโฉจึงได้สั่งให้ทหารสร้างสุสานฝังศีรษะของแม่ทัพกวนอูอย่างสมเกียรติ
|
วิหารที่สอง |
|
เทพเจ้ากวนอู ในปางเทพเจ้าแห่งโชคลาภ |
แต่เดิมในสมัยราชวงศ์ฮั่น ชาวบ้านได้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ศาลเจ้ากวนโฮ้ว” ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง เรียกศาลแห่งนี้ว่า “ศาลเจ้ากวนตี้”
|
องค์เทพกวนอูปางนั่งอ่านหนังสือ |
|
องค์เทพกวนอูปางนอน |
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคังซีฮ่องเต้ ได้เปลี่ยนชื่อศาลเจ้าแห่งนี้ใหม่เป็น “ศาลเจ้ากวนหลิน” เนื่องจากบริเวณโดยรอบศาลเจ้ามีต้นสนอยู่มากมายจนเป็นป่าสน ภาษาจีนคำว่า “หลิน” แปลว่า
ป่า โดยชื่อ “กวนหลิน” นี้ก็ได้ถูกเรียกต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
|
ซุ้มประตูหน้าสุสาน |
|
ป้ายหน้าสุสานแม่ทัพกวนอู |
เมื่อท่านได้เดินผ่านวิหารต่างๆเข้ามาจนถึงสุดทาง ท่านจะพบกับสุสานที่ฝังศีรษะของแม่ทัพกวนอู ซึ่งเป็นเนินสูงรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เมตรและมีความสูงประมาณ
5 เมตร
|
สุสานฝังศีรษะแม่ทัพกวนอู |
บริเวณด้านหลังซุ้มประตูท่านพบแผ่นป้ายหินจารึกภาษาจีนว่าเป็นสถานที่ฝังศีรษะของเทพกวนอู ซึ่งท่านสามารถหาซื้อธูปจากซุ้มด้านข้างมาบูชาต่อองค์ท่านซึ่งส่วนตัวผมนั้นเมื่อจุดธูปอธิฐานก็เกิดอาการขนลุกซู่ไปทั้งตัวเลยทีเดียว
|
ศาลาง้าวมังกรเขียว |
หลังจากที่ได้ขอพรกับองค์ท่านแล้วผมก็ได้เดินสำรวจบริเวณรอบศาลเจ้าก็พบกับศาลาอยู่ 2 หลัง โดยศาลาหลังแรกเป็นที่จัดแสดง "ง้าวมังกรเขียว" อาวุธคู่กายของแม่ทัพกวนอู
|
ใบมีดประดับด้วยลายมังกร |
|
ง้าวมังกรเขียว |
ตามตำนานได้กล่าวขานไว้ว่า “ง้าวมังกรเขียว” นี้เป็นง้าวขนาดยักษ์ที่ประดับด้วยลายมังกรที่มีขนาดความยาว
3 เมตรและมีน้ำหนักถึง
40 กิโลกรัมเลยทีเดียว
|
ม้าเซ็กเทา |
ส่วนศาลาที่อยู่ตรงข้ามง้าวมังกรเขียว ก็มีรูปปั้นของ ”ม้าเซ็กเทา” ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นม้าวิเศษคู่ใจแม่ทัพกวนอูซึ่งสามารถวิ่งได้ไกลวันละ
1,000 ลี้เลยทีเดียว ตามตำนานยังได้กล่าวอีกว่าหลังจากที่แม่ทัพกวนอูได้เสียชีวิตไป ผ่านไปไม่กี่วัน
”ม้าเซ็กเทา” ก็ไม่ยอมกินข้าวกินน้ำและตายตามแม่ทัพกวนอูซึ่งเป็นเจ้านายไป
|
ป้ายหินเชิดชูเกียรติแม่ทัพกวนอู |
บริเวณสองข้างทางภายในศาลเจ้ากวนหลินก็จะเรียงรายเต็มไปด้วยป้ายหินแกะสลักเชิดชูเกียรติของแม่ทัพกวนอู
ตั้งแต่ในอดีตมาจนมาถึงปัจจุบัน
|
ร้านขายของที่ระลึก และองค์เทพเจ้ากวนอู |
|
ร้านขายของที่ระลึก และองค์เทพเจ้ากวนอู |
สคู๊ปมีทวี พาเที่ยว ตอนหน้าจะพาท่านไปเที่ยวชมวัดเก่าแก่ชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิชากำลังภายใน นั่นก็คือ “วัดเส้าหลิน” ร่วมเดินทางไปกับเราได้ที่สคู๊ป มีทวี พาเที่ยว ตอนหน้าคับผม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น